วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

The logo change will affect how the international market.


      ในทางการตลาด โลโก้เป็นการระบุตัวตนขั้นพื้นฐานของสินค้า ควบคู่กับการสร้างแบรนด์สินค้า เพราะสองอย่างนี้ต้องมีความสอดคล้องกลมกลืนกัน เพื่อผนึกพลังกันเป็นองค์ประกอบของสินค้าที่จะสื่อสารออกไปยังลูกค้าเป้าหมายของกิจการ
     การเปลี่ยนโลโก้พร้อมกับแบรนด์ จึงมักเกิดผลให้กิจการสามารถยกเครื่องภาพลักษณ์หรืออิมเมจ หรือเป็นการเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่   นอกจากนั้นในแต่ละกิจการไม่ว่าอุตสาหกรรมสาขาใด ความแข็งแกร่งของแบรนด์เป็นหัวใจของความสำเร็จของกิจการอย่างหนึ่งเป็นเสมือนหัวใจที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความรู้สึกทางธุรกิจ หากเมื่อใดที่หัวใจทางธุรกิจหยุดเต้นหรือขยับเขยื้อน องค์กรก็คงดำเนินการต่อไปไม่ได้
      
       ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโลโก้ของกิจการใดกิจการหนึ่ง ก็เพื่อให้โลโก้ใหม่เหมาะเจาะและสอดรับกับการสื่อตัวตนของสินค้ามากขึ้นนั่นเอง โดยเฉพาะเมื่อพบว่าโลโก้เดิมไม่สะท้อนสิ่งที่เป็นเป้าหมายของกิจการอย่างเพียงพอ สำหรับงานการตลาดในอนาคต
      ส่วนใหญ่การปรับแบรนด์จะเกิดในช่วงต้นปี เพราะปีใหม่กับโลโก้ใหม่มักจะเป็นเครื่องที่ไปด้วยกันได้ดีกว่าช่วงอื่นๆ ช่วงเวลาปีใหม่จึงมักจะเป็นช่วงเป้าหมายในการปรับแบรนด์หรือโลโกของบริษัทชั้นนำทั้งหลายของโลก

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการทำการตลาดของ Fuji และ MK


1. กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์  (Product  Strategy)
     1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  ( Product  Concept )  เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
     2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง
     3.ลักษณะเด่นของสินค้า  ( Product  Feature  ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติแตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส

2. กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )           เป็นการกำหนดว่าเราจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูงหรือราคาต่ำ สิ่งที่จะต้องตระหนักคือ ราคาทีได้กำหนดไว้นั้นเหมาะสมในการแข่งขัน หรือสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่กลยุทธ์ด้านราคา ( Price strategy )

 3.  กลยุทธ์ช่องทางการจัด จำหน่าย( Place Strategy )            วิธีการจัดจำหน่าย จะต้องพิจารณาถึง
              1. ช่องทางการจัดจำหน่าย ( Channel of distribution )  เป็นเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ ใช้ ซึ่งอาจจะผ่านคนกลางหรือไม่ฝ่ายคนกลางก็ได้
            2. ประเภทของร้านค้า ( Outlets ) ในทุกวันนี้จะพบได้ว่าวิวัฒนาการของการจัดจำหน่ายนั้นเป็นสิ่งที่เจริญเติบ โตรวดเร็วมากประเภทของร้านค้ามีมากมาย จนแทบจะตามไม่ทัน

4. กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy)           การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติ ตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน    การขายโดยพนักงานขายนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานขาย การจัดการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับพนักงานขาย ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลัง     การเตรียมการเสนอขายและการบริการหลังการขาย ในการพัฒนาแผนกการขายนั้น กิจการจะเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์และปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการบริการ หรือธุรกิจการผลิต จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์การขายและการดำเนินงาน การขายโดยใช้พนักงานขายนั้นหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและขณะเดียวกันก็ เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย
  

5. กลยุทธ์ การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy)                การให้ข่าวสารนั้น คือ รูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อ ทั้งนี้เพื่อสร้างทัศนคติที่เป้นบวกต่อสินค้าและกิจการของเรา แต่ปัจจุบันการสื่อสารโดยวิธีดังกล่าวอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางอ้อมเกี่ยวกับสื่ออีกด้วย การให้ข่าวสารแก่สาธารณะชนนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ การให้ข่าวสารจัดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในระยะยาวแก่องค์กร และต้องการให้ผลลัพธ์นี้ออกมาในเชิงบวกแก่องค์กร