วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แรงดึงดูดในการลงทุนในประเทศจีน



                                                                                                    
      ในการเป็นนักธุรกิจที่คิดจะเข้าไปลงทุนในเมืองจีน คือ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในระบบการเมืองของเขา ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้ ก็เหมือนคนตาบอดเดินเข้าไป เนื่องจากประเทศนี้ยังมีการปกครองแบบเผด็จการอยู่ ฉะนั้นการตัดสินใจหรือการดำเนินตามกฎจะไม่มีอะไรที่สามารถไปยึดเป็นสิ่งที่แน่นอนได้ แม้ว่าจะบอกว่าเข้า WTO ไปแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น แต่อำนาจก็ยังอยู่ในมือของคนกลุ่มหนึ่งอยู่ ดังนั้นวิธีการที่จะเปลี่ยนกฎเพื่อดำเนินการ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนกลุ่มหนึ่ง แน่นอนว่าคนกลุ่มนั้นต้องเป็นกลุ่มคนในประเทศจีน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาสามารถทำได้โดยไม่ขัดต่อกฎของ WTO หรือองค์การนานาประเทศ
 แรงดึงดูดด้านต่างๆมีดังนี้
ด้านการเมืองการปกครอง
1.  เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และกำหนดเป้าหมายให้ GDP เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว และทำให้จีนสร้างความกินดีอยู่ดี
2.  จีนยังไม่เน้นการปฏิรูปทางการเมืองอย่างรวดเร็ว จะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ด้านเศรษฐกิจ
1.  เศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากภายใต้นโยบายการปฏิรูปและการเปิดประเทศที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521
2.  ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งรองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
3.  ความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน ในภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมเหล็กและซีเมนต์ ทำให้ปริมาณการขนถ่ายสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือจีนนั้นสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกมา 4 ปีแล้ว
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
1. ประวัติศาสตร์ของจีนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน รวมทั้งเยาวชนของไทยในการศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
2. ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีของจีน และนำวัฒนธรรมอื่นที่ดีมาประยุกต์ใช้
ด้านเทคโนโลยี
1. จีนมีตัวเลือกสำหรับบรรดาผู้มีพรสวรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก
2. ประเทศจีนกำลังจะได้ความรู้ด้านเทคโนโลยีของอเมริกาทั้งหมด
3. ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศจีน
1. ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในจีน ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างเชื่องช้า ทำให้มีสภาพคล่องล้นระบบอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่จีนตรึงค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์
2. การกีดกันทางการค้าควบคู่กับวิกฤติเงินดอลลาร์ ในกรณีนี้การว่างงานในสหรัฐพุ่งขึ้นสูงพร้อมกับเงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างมากเทียบกับเงินหยวน ทำให้นักการเมืองทั้งของสหรัฐและยุโรปรุมโจมตีจีน และผลักดันมาตรการกีดกันการค้าจีนอย่างรุนแรง

 
        ปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศที่มีบทบาททางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ที่สำคัญของ โลกมากขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากการมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากอเมริกา ญี่ปุ่น
      ซึ่งปัจจัย สำคัญที่ทำให้จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ เกิดจากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์ ของ ภาครัฐ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า
20 ปี โดยเริ่มจากในปี 1980 ประเทศจีนได้ใช้ นโยบายการเปิดประเทศเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจ (Open Door Policy) ต่อมาในปี 2001 โดยเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และในปี 2002 จีนได้ ใช้นโยบายก้าวออกไป (Going Global Policy) เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจจีนที่มีศักยภาพไปลงทุนใน ต่างประเทศทั้งในรูปแบบของการร่วมทุน (Joint Venture) และการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A) ซึ่งสามารถผลักดันให้ทั้งรัฐวิสาหกิจและ บริษัทเอกชนเข้าไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นทุกปี



    

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ยางแท่งไทย สู่แดนมังกร..

                                        

     ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก ประเภทของยางพาราที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นรมควัน รองลงมาคือ ยางแท่งและน้ำยางข้น ตามลำดับ โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกยางพาราที่สำคัญ อันดับสองของไทยรองจากญี่ปุ่น 

     นับตั้งแต่เศรษฐกิจโลกในปี 2553 ฟื้นตัว ส่งผลให้ตัวเลขการผลิตรถยนต์ในตลาดโลกค่อยๆ ดีดตัวสูง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกเพิ่มโควตาการรับซื้อยางพารา  โดยประเทศไทยยังคงเป็นฐานการส่งป้อนวัตถุดิบอันดับหนึ่งโลกและในห้วงนี้ ที่ทั้งจีนและอินเดียมีความต้องการยางในปริมาณสูงเพิ่มขึ้นอีก 10-20% เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยางรถยนต์และอื่นๆ ที่กำลังเติบโต ทำให้คาดการณ์ได้ว่าความต้องการใช้ยางพาราของโลกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย3-5% เมื่อเทียบกับปี 2552

        ขณะที่จีนกำลังขยายอุตสาหกรรมยานยนต์จึงคาดว่าจะมีการสั่งยางแท่งจากไทยเพิ่มขึ้นอีก10-20% เนื่องจากจีนได้นำเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่เข้ามาสอดรับกับยางแท่ง เพื่อลดขั้นตอนและต้นทุนการผลิต ซึ่งจะทำให้ปริมาณยางแผ่นที่ไทยเคยป้อนสู่ตลาดจีนอยู่ที่ตัวเลข 2  ล้านตัน/ปี ลดลงเหลือประมาณ 900,000 ตัน/ปีและมีแนวโน้มว่าจะลดปริมาณการสั่งยางแผ่นจากไทยลงเรื่อยๆ ประกอบกับราคายางแผ่นรมควันมีความผันผวนสูงกว่า


     ผู้ส่งออกไทยที่สนใจส่งออกยางแท่งไปประเทศจีน ควรทราบข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้
       1. อัตราภาษีรัฐบาลจีนเรียกเก็บภาษีนำเข้ายางพาราเฉลี่ยร้อยละ 30 ของราคานำเข้า ทั้งนี้ยางพาราส่วนใหญ่ที่ไทยส่งออกไปจีนเสียภาษีนำเข้า ดังนี้
          - ยางแผ่นรมควัน เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 25
          - ยางแท่ง เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 25
          - น้ำยางข้น เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 20
       อย่างไรก็ตาม ทันทีที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จีนตกลงจะลดอัตราภาษีนำเข้ายางพาราลง เหลือเฉลี่ยร้อยละ 20 ของราคานำเข้า
       2. ข้อกำหนดในการนำเข้ายางพารา การนำเข้ายางแท่งจากต่างประเทศต้องดำเนินการผ่านบริษัทนำเข้าและส่งออก (Export and Import Firm) ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนเท่านั้น โดยจีนแบ่งการนำเข้ายางพาราเป็น 2 ประเภท คือ
          2.1 การนำเข้ายางพาราเพื่อใช้ภายในประเทศ สำนักงานคณะกรรมการวางแผนพัฒนาแห่งชาติจีน (State Development Planning Commission) เป็นผู้กำหนดโควต้านำเข้ายางพาราเพื่อใช้ภายในประเทศ โดยพิจารณาจากปริมาณการผลิตและความต้องการใช้ยางพาราในประเทศ ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการนำเข้าต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากรัฐบาลจีน และต้องเสียภาษีนำเข้าตามอัตราที่กำหนด
          2.2 การนำเข้ายางแท่งมาเพื่อผลิตส่งออก สามารถนำเข้าได้เสรี โดยไม่มีโควต้านำเข้า แต่ต้องเสียภาษีนำเข้าตามอัตราที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกที่นำเข้ายางพาราสามารถขอคืนภาษีนำเข้าได้อีกด้วย
       3. คู่แข่งในตลาดยางพาราของจีน ในปี 2543 ไทยครองส่วนแบ่งตลาดยางพาราในจีนมากที่สุดถึงร้อยละ 67 ของมูลค่าการนำเข้ายางพารารวมของจีน รองลงมา คือ มาเลเซีย (ร้อยละ 13.5) เวียดนาม (ร้อยละ 7.6) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 6.3) ตามลำดับ
       4. ประเภทของยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทยในปี 2543 ยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ ยางแท่ง โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 47 ของมูลค่าการนำเข้ายางพาราทั้งหมดจากไทย รองลงมาคือ ยางแผ่นรมควัน (ร้อยละ 41.8) โดยยางพาราส่วนใหญ่จีนนำเข้าไปเพื่อใช้ผลิตยางรถยนต์



จุดเด่น 1. ขายได้ในราคาที่สูงกว่า ยางแผ่น
2. คุณภาพของยางสม่ำเสมอ
3. คุณสมบัติของยางจะเสถียร ไม่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
จุดด้อย 1. มีสารเอทีลีนสูง จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ ร่างกาย
2. ความร้อนสะสมในขณะการใช้งานต่ำ

โอกาส 1. สินค้าส่งออกของไทยได้อานิสงส์จากการปรับลดภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ของจีนภายใต้ FTA
2.
จีนมีความต้องการใช้ยางพาราสูงกว่าปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ค่อนข้างมาก
3.
จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (Word Trade Organization : WTO) ทำให้จีนต้องเร่งเปิดตลาดสินค้าเกษตรมากขึ้น
อุปสรรค 1.  สิทธิ์ในการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศต้องผ่านการอนุมัติการกระทรวงพาณิชย์จีนก่อน
2. การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  ปัจจุบันจีนเรียกเก็บภาษียางแท่ง ในอัตรา ร้อยละ 25
3. ใบอนุญาตนำเข้าสินค้ามีอายุแค่ 6 เดือน
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.afet.or.th/v081/thai/news/commodityShow.php?id=2911


 


วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศ และ การตลาดระหว่างประเทศ ต่างกันอย่างไร ?

  
       การค้าระหว่างประเทศ คือ การส่งสินค้าของประเทศหนึ่งผ่านพรมแดนไปขายให้ประเทศอื่น ๆ ที่ต้องการสินค้าของประเทศนั้น เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การส่งออก(Export : X)" อีกด้านของการค้าระหว่างประเทศ ก็คือ การซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ผ่านเขตแดนเข้าในประเทศ เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การนำเข้า(Import : X)" และเรียกผลต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้านี้ว่า "การส่งออกสุทธิ(Net Export : X-M)"
       ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยาก       
        การตลาดระหว่างประเทศ  คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) การค้นหาความต้องการของลูกค้าระดับโลก (2) การตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก (3) การทำให้มีคุณภาพและมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (4) การประสมประสานและการประสานกิจกรรมการตลาด (5) การตระหนักถึงข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก
   ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ  คือ  การตลาดระหว่างประเทศ ไม่ใช่เป็นเพียงการค้าขายระหว่างประเทศ แต่มีเป้าหมายคือ การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อหาตลาดใหม่ และที่สำคัญคือการแย่งส่วนแบ่งการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ และธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ที่มา
http://www.ssru.ac.th/linkssru/Subject_New/3544103/soc22/topic1/linkfile/print5.htm
                                                                   

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ไทย-จีน

                 
      ไทยกับจีน มีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล  โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก  (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้)  ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย และที่เด่นชัดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน ซึ่งมีการติดต่อ ค้าขายระหว่างกัน และไทยได้รับเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนในช่วงเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน   น่าจะเริ่มมีขึ้นในช่วงนี้  ด้วยจากการอพยพของชาวจีนในช่วงสงครามสมัยราชวงศ์หยวนและในช่วงต้นราชวงศ์ หมิง และนับจากนั้นมา ก็ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาโดยตลอดและมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาตั้งรกราก ในไทย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกและสงครามกลางเมืองของจีนในทศวรรษที่ 1930-1950 มีชาวจีนจำนวนมากจากมณฑลทางใต้ของจีน อาทิ  กวางตุ้ง  ไห่หนาน ฝูเจี้ยน  และกวางสี หลบหนีภัยสงครามและความ อดอยากเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดุจพี่น้องระหว่างไทย กับจีนได้มีมาอย่างยาวนาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า ไทยจีนใช่อื่นไกลพี่น้องกัน

       แม้กระแสทางการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นจะทำให้ไทยกับจีนขาดการติดต่อกันในระดับทางการอยู่ระยะหนึ่ง แต่กระแสการเมืองโลกดังกล่าวก็ไม่อาจจะตัดความผูกพัน และความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างแนบแน่นระหว่างประชาชนไทย-จีน ได้ ดังนั้น   นับตั้งแต่ที่ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ กรกฏาคม  2518  เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและราบรื่น และเป็นแบบอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มี ระบบการปกครองแตกต่างกัน โดยมีพัฒนาการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ด้านการเมือง
    ในทศวรรษแรกหลังจากที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ไทยและจีนประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันอันนำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้น ซึ่งได้ช่วยสนับสนุน การพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสนามรบกลายเป็นตลาดการค้า นอกจากนี้ พื้นฐานความเข้าใจและความใกล้ชิดดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนอีกด้วย
2. ด้านเศรษฐกิจ
          หลังจากทศวรรษแรกของการสถาปนาความสัมพันธ์ที่ทั้งสองประเทศได้ประสบผลในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันแล้วนั้น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าได้กลายเป็นองค์ประกอบที่นับวันยิ่งมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง โดยเฉพาะหลังจากที่จีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้การนำของนายเติ้ง เสี่ยวผิง เมื่อปี 1978 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศได้พัฒนาและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ในด้านการค้า มูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีน เพิ่มขึ้นจากปีแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 31,062 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2007
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
     ปัจจุบันไทยกับจีนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่เจริญรุดหน้าในทุกด้าน และนับวันจะยิ่งพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้ง ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ดังนั้น ในช่วงศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของจีน ไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคหวังว่าจะความร่วมมือกับจีนมากยิ่งทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน โดยจีนจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย
ที่มา