วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แรงดึงดูดในการลงทุนในประเทศจีน



                                                                                                    
      ในการเป็นนักธุรกิจที่คิดจะเข้าไปลงทุนในเมืองจีน คือ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในระบบการเมืองของเขา ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้ ก็เหมือนคนตาบอดเดินเข้าไป เนื่องจากประเทศนี้ยังมีการปกครองแบบเผด็จการอยู่ ฉะนั้นการตัดสินใจหรือการดำเนินตามกฎจะไม่มีอะไรที่สามารถไปยึดเป็นสิ่งที่แน่นอนได้ แม้ว่าจะบอกว่าเข้า WTO ไปแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น แต่อำนาจก็ยังอยู่ในมือของคนกลุ่มหนึ่งอยู่ ดังนั้นวิธีการที่จะเปลี่ยนกฎเพื่อดำเนินการ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนกลุ่มหนึ่ง แน่นอนว่าคนกลุ่มนั้นต้องเป็นกลุ่มคนในประเทศจีน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาสามารถทำได้โดยไม่ขัดต่อกฎของ WTO หรือองค์การนานาประเทศ
 แรงดึงดูดด้านต่างๆมีดังนี้
ด้านการเมืองการปกครอง
1.  เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และกำหนดเป้าหมายให้ GDP เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว และทำให้จีนสร้างความกินดีอยู่ดี
2.  จีนยังไม่เน้นการปฏิรูปทางการเมืองอย่างรวดเร็ว จะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ด้านเศรษฐกิจ
1.  เศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากภายใต้นโยบายการปฏิรูปและการเปิดประเทศที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521
2.  ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งรองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
3.  ความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน ในภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมเหล็กและซีเมนต์ ทำให้ปริมาณการขนถ่ายสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือจีนนั้นสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกมา 4 ปีแล้ว
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
1. ประวัติศาสตร์ของจีนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน รวมทั้งเยาวชนของไทยในการศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
2. ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีของจีน และนำวัฒนธรรมอื่นที่ดีมาประยุกต์ใช้
ด้านเทคโนโลยี
1. จีนมีตัวเลือกสำหรับบรรดาผู้มีพรสวรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก
2. ประเทศจีนกำลังจะได้ความรู้ด้านเทคโนโลยีของอเมริกาทั้งหมด
3. ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศจีน
1. ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในจีน ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างเชื่องช้า ทำให้มีสภาพคล่องล้นระบบอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่จีนตรึงค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์
2. การกีดกันทางการค้าควบคู่กับวิกฤติเงินดอลลาร์ ในกรณีนี้การว่างงานในสหรัฐพุ่งขึ้นสูงพร้อมกับเงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างมากเทียบกับเงินหยวน ทำให้นักการเมืองทั้งของสหรัฐและยุโรปรุมโจมตีจีน และผลักดันมาตรการกีดกันการค้าจีนอย่างรุนแรง

 
        ปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศที่มีบทบาททางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ที่สำคัญของ โลกมากขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากการมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากอเมริกา ญี่ปุ่น
      ซึ่งปัจจัย สำคัญที่ทำให้จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ เกิดจากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์ ของ ภาครัฐ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า
20 ปี โดยเริ่มจากในปี 1980 ประเทศจีนได้ใช้ นโยบายการเปิดประเทศเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจ (Open Door Policy) ต่อมาในปี 2001 โดยเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และในปี 2002 จีนได้ ใช้นโยบายก้าวออกไป (Going Global Policy) เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจจีนที่มีศักยภาพไปลงทุนใน ต่างประเทศทั้งในรูปแบบของการร่วมทุน (Joint Venture) และการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A) ซึ่งสามารถผลักดันให้ทั้งรัฐวิสาหกิจและ บริษัทเอกชนเข้าไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นทุกปี



    

1 ความคิดเห็น: