วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ยางแท่งไทย สู่แดนมังกร..

                                        

     ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก ประเภทของยางพาราที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นรมควัน รองลงมาคือ ยางแท่งและน้ำยางข้น ตามลำดับ โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกยางพาราที่สำคัญ อันดับสองของไทยรองจากญี่ปุ่น 

     นับตั้งแต่เศรษฐกิจโลกในปี 2553 ฟื้นตัว ส่งผลให้ตัวเลขการผลิตรถยนต์ในตลาดโลกค่อยๆ ดีดตัวสูง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกเพิ่มโควตาการรับซื้อยางพารา  โดยประเทศไทยยังคงเป็นฐานการส่งป้อนวัตถุดิบอันดับหนึ่งโลกและในห้วงนี้ ที่ทั้งจีนและอินเดียมีความต้องการยางในปริมาณสูงเพิ่มขึ้นอีก 10-20% เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยางรถยนต์และอื่นๆ ที่กำลังเติบโต ทำให้คาดการณ์ได้ว่าความต้องการใช้ยางพาราของโลกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย3-5% เมื่อเทียบกับปี 2552

        ขณะที่จีนกำลังขยายอุตสาหกรรมยานยนต์จึงคาดว่าจะมีการสั่งยางแท่งจากไทยเพิ่มขึ้นอีก10-20% เนื่องจากจีนได้นำเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่เข้ามาสอดรับกับยางแท่ง เพื่อลดขั้นตอนและต้นทุนการผลิต ซึ่งจะทำให้ปริมาณยางแผ่นที่ไทยเคยป้อนสู่ตลาดจีนอยู่ที่ตัวเลข 2  ล้านตัน/ปี ลดลงเหลือประมาณ 900,000 ตัน/ปีและมีแนวโน้มว่าจะลดปริมาณการสั่งยางแผ่นจากไทยลงเรื่อยๆ ประกอบกับราคายางแผ่นรมควันมีความผันผวนสูงกว่า


     ผู้ส่งออกไทยที่สนใจส่งออกยางแท่งไปประเทศจีน ควรทราบข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้
       1. อัตราภาษีรัฐบาลจีนเรียกเก็บภาษีนำเข้ายางพาราเฉลี่ยร้อยละ 30 ของราคานำเข้า ทั้งนี้ยางพาราส่วนใหญ่ที่ไทยส่งออกไปจีนเสียภาษีนำเข้า ดังนี้
          - ยางแผ่นรมควัน เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 25
          - ยางแท่ง เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 25
          - น้ำยางข้น เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 20
       อย่างไรก็ตาม ทันทีที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จีนตกลงจะลดอัตราภาษีนำเข้ายางพาราลง เหลือเฉลี่ยร้อยละ 20 ของราคานำเข้า
       2. ข้อกำหนดในการนำเข้ายางพารา การนำเข้ายางแท่งจากต่างประเทศต้องดำเนินการผ่านบริษัทนำเข้าและส่งออก (Export and Import Firm) ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนเท่านั้น โดยจีนแบ่งการนำเข้ายางพาราเป็น 2 ประเภท คือ
          2.1 การนำเข้ายางพาราเพื่อใช้ภายในประเทศ สำนักงานคณะกรรมการวางแผนพัฒนาแห่งชาติจีน (State Development Planning Commission) เป็นผู้กำหนดโควต้านำเข้ายางพาราเพื่อใช้ภายในประเทศ โดยพิจารณาจากปริมาณการผลิตและความต้องการใช้ยางพาราในประเทศ ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการนำเข้าต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากรัฐบาลจีน และต้องเสียภาษีนำเข้าตามอัตราที่กำหนด
          2.2 การนำเข้ายางแท่งมาเพื่อผลิตส่งออก สามารถนำเข้าได้เสรี โดยไม่มีโควต้านำเข้า แต่ต้องเสียภาษีนำเข้าตามอัตราที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกที่นำเข้ายางพาราสามารถขอคืนภาษีนำเข้าได้อีกด้วย
       3. คู่แข่งในตลาดยางพาราของจีน ในปี 2543 ไทยครองส่วนแบ่งตลาดยางพาราในจีนมากที่สุดถึงร้อยละ 67 ของมูลค่าการนำเข้ายางพารารวมของจีน รองลงมา คือ มาเลเซีย (ร้อยละ 13.5) เวียดนาม (ร้อยละ 7.6) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 6.3) ตามลำดับ
       4. ประเภทของยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทยในปี 2543 ยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ ยางแท่ง โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 47 ของมูลค่าการนำเข้ายางพาราทั้งหมดจากไทย รองลงมาคือ ยางแผ่นรมควัน (ร้อยละ 41.8) โดยยางพาราส่วนใหญ่จีนนำเข้าไปเพื่อใช้ผลิตยางรถยนต์



จุดเด่น 1. ขายได้ในราคาที่สูงกว่า ยางแผ่น
2. คุณภาพของยางสม่ำเสมอ
3. คุณสมบัติของยางจะเสถียร ไม่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
จุดด้อย 1. มีสารเอทีลีนสูง จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ ร่างกาย
2. ความร้อนสะสมในขณะการใช้งานต่ำ

โอกาส 1. สินค้าส่งออกของไทยได้อานิสงส์จากการปรับลดภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ของจีนภายใต้ FTA
2.
จีนมีความต้องการใช้ยางพาราสูงกว่าปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ค่อนข้างมาก
3.
จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (Word Trade Organization : WTO) ทำให้จีนต้องเร่งเปิดตลาดสินค้าเกษตรมากขึ้น
อุปสรรค 1.  สิทธิ์ในการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศต้องผ่านการอนุมัติการกระทรวงพาณิชย์จีนก่อน
2. การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  ปัจจุบันจีนเรียกเก็บภาษียางแท่ง ในอัตรา ร้อยละ 25
3. ใบอนุญาตนำเข้าสินค้ามีอายุแค่ 6 เดือน
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.afet.or.th/v081/thai/news/commodityShow.php?id=2911


 


7 ความคิดเห็น:

  1. เข้าใจง่ายดีค่ะ รูปน้อยไปหน่อยน้า

    ตอบลบ
  2. จัดเนื้อหาได้ดีจ๊ะ เข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาดี เหมาะสม จัดรูปแบบได้น่าสนใจ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน

    ตอบลบ
  4. เนื้อหา..กระชับ..จับใจความได้ดีจ๊ะ..

    ตอบลบ
  5. วิเคราะห์ได้ดีทีเดียว เนื้อหาดี แต่อยากให้มีรูปเพิ่ม

    ตอบลบ